ประชาคมอาเซียน

ประชาคมอาเซียน(ASEAN Community)คือประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
แต่“AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5  ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
AEC หรือ Asean Economics Community คือการรวมตัวของชาติใน Asean 10 ประเทศ โดยมี ไทย, พม่า, ลาว, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, บรูไน เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone นั่นเอง จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว)  Asean จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลเป็นรูปธรรม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ 
AEC Blueprint (แบบพิมพ์เขียว) หรือแนวทางที่จะให้ AEC เป็นไปคือ
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
สำหรับหลักและวิธีการประดับธงอาเซียน และธงชาติของประะเทศสมาชิกอาเซียนให้ เรียงโดยเริ่มจากธงอาเซียนแล้วต่อด้วยสมาชิก 10 ประเทศ ตามลำดับอักษรชื่อประเทศดังนี้
           ธงอาเซียน


          1. Brunei Darussalam (บรูไน ดารุสซาลาม)

          2. Kingdom of Cambodia (ราชอาณาจักรกัมพูชา) 

          3. Republic of Indonesia (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย)

          4. Lao People’s Democratic Republic (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - สปป ลาว)

          5. Malaysia (มาเลเซีย)

          6. Republic of the Union of Myanmar (สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์)

          7. Republic of the Philippines (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์)

          8. Republic of Singapore (สาธารณรัฐสิงคโปร์)

        
 9. Kingdom of Thailand (ราชอาณาจักรไทย)

          10. Socialist Republic of Vietnam (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)


ระบอบการปกครองของสมาชิกประเทศสมาคมอาเซียน
๑.      Brunei Darussalam (บรูไน ดารุสซาลาม) มีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศ
๒.     Kingdom of Cambodia (ราชอาณาจักรกัมพูชา) มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
๓.     Republic of Indonesia (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย)  มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
๔.     Lao People’s Democratic Republic (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว - สปป ลาว) มีการปกครองระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์  โดยพรรคการเมืองเดียวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ
๕.     Malaysia (มาเลเซีย) มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
๖.      Republic of the Union of Myanmar (สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์)  มีการปกครองระบอบเผด็จการทหาร  ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและพัฒนาแห่งรัฐ
๗.    Republic of the Philippines (สาธารณรัฐฟิลิปปินส์) มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
๘.     Republic of Singapore (สาธารณรัฐสิงคโปร์)  มีการปกครองระบอบสาธารณรัฐ(ประชาธิปไตยแบบรัฐสภามีสภาเดียว)
๙.     Kingdom of Thailand (ราชอาณาจักรไทย)  มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๑๐.Socialist Republic of Vietnam (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)  มีการปกครองระบอบสังคมนิยมโดยมีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

คลังบทความของบล็อก